Integreation Thai Language

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

คำพังเพยที่สอดคล้อง กับ ความซื่อสัตย์

" ตัวตายดีกว่าชาติตาย "




        สำนวนนี้เป็นสำนวนปลุกใจให้คนมีความซื่อสัตย์ ที่สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว มีความหมายไปในทางให้คนเรารักและไม่คดโกงต่อประเทศชาติหรือบ้านเมืองของตนเองให้มั่น เมื่อยามมีศัตรูมารุกรานบ้านเมืองก็พร้อมที่จะพลีชีวิตร่วมกันต่อสู้เพื่อป้องกันประเทศ โดยยอมให้ตนเองตายดีกว่าชาติ

ประวัติผู้แต่ง


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี ที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓ ๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ  ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร  การปกครอง  การต่างประเทศ  และโดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์  พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น  และทรงใช้งานพระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
                บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องยังได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี  อาทิ  หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงรับการถวายพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน พ.ศ. ๒๕๑๕ พระองค์ยังทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของไทย

               


ความเป็นมา


                เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์  โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิด คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทรงนำคาถาบาลีจากพระไตรปิฎกตั้ง แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี  การจัดวางลำดับของมลคลแต่ละข้อความก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง


                เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์  โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิด คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทรงนำคาถาบาลีจากพระไตรปิฎกตั้ง แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี  การจัดวางลำดับของมลคลแต่ละข้อความก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง


ลักษณะคำประพันธ์


                มลคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยทรงนำคาถาบาลีที่เป็น มงคลสูตร ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎกมาแปล แล้วทรงเรียบเรียงแต่งเป็นบทประพันธ์ร้อยกรองที่มีสัมผัสคล้องจอง ท่องจำง่าย และสามารถพรรณนาความได้อย่างไพเราะจับใจ  โดยทรงใช้คำประพันธ์ ๒ ประเภท คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (ดูแบบแผนการประพันธ์และฉันทลักษณ์ได้ในหน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่องคำนมัสการคุณานุคุณ) โดยทรงลงท้ายคำประพันธ์ทุกบทด้วยข้อความเดียวกันว่า ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี ซึ่งมีที่มาจากคาถาภาษาบาลีที่ว่า เอตมฺมงฺลมุตฺตมํ




จุดมุ่งหมายของการแต่ง


                มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดีคำสอนผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงนำหลักธรรมที่เป็นคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฎกมาแปลและเรียบเรียงแต่งเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  โดยมีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นและเข้าใจได้ว่า สิริมงคลจะเกิดแก่ตัวเราได้ก็ด้วยเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติดี หาได้มีที่มาจากปัจจัยอื่นแต่อย่างใด

เนื้อหา

มงคลสูตรคำฉันท์

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมา  สมฺพุทฺธสฺสฯ
ต้นมงคลสูตร
(๑)         ยญฺจ  ทฺวาทส  วสฺสานิ  จินฺตยํ  สุ  สเทวกา
                สิบสองฉนำเหล่า                                                นรอีกสุเทวา
                รวมกันและตริหา                                                สิริมังคลาใด
(๒)        จิรสฺสํ  จินฺตยนฺตาปิ                                             เนว  ชานํ  สุ  มงฺคลํ
                จกฺกวาฬสหสฺเสสุ                                                ทสสุ  เยน  ตตฺตกํ
                กาลํ  โกลาหลํ  ชาตํ                                            ยาว  พฺรหฺมนิเวสนา
                เทวามนุษย์ทั่ว                                                      พหุภพประเทศใน
                หมื่นจักรวาลได้                                                   ดำริสิ้นจิรังกาล
                แล้วยังบ่รู้มง -                                                      คละสมมโนมาลย์
                ด้วยกาละล่วงนาน                                               บ่มิได้ประสงค์สม
                ได้เกิดซึ่งโกลา -                                                  หละยิ่งมโหดม
                ก้องถึงณชั้นพรหม                                             ธสถิตสะเทือนไป
(๓)         ยํ  โลกนาโถ  เทเสสิ
                องค์โลกนาถเทศน์                                              วรมังคลาใด
(๔)         สพฺพปาปวินาสนํ                                               
                ยังปาปะปวงให้                                                    ทุษะเสื่อมวินาศมล            
(๕)         ยํ  สุตฺวา  สพฺพทุกฺเขหิ                                        มุจฺจนฺตาสงฺขิยา  นรา
ชนหลายบพึงนับ                                                                ผิสดับสุมงคล
                ใดแล้วและรอดพ้น                                             พหุทุกขะยายี
(๖)          เอวมาทิคุณูเปตํ                                                    มงฺคลนฺตมฺภณาม  เส.ฯ
                เราควรจะกล่าวมง -                                            คละอันประเสริฐที่
                กอบด้วยคุณามี                                                     วรอัตถะเฉิดเฉลาฯ






มลคลสูตร

(๑)          เอวมฺเม  สุตํ
                องค์พระอานนท์ท่านเล่า                                   ว่าข้าพเจ้า
                ได้ฟังมาแล้วดังนี้
(๒)         เอกํ  สมยํ  ภควา
                สมัยหนึ่งพระผู้มี                                                 พระภาคชินสีห์
                ผู้โลกนาถจอมธรรม์
(๓)         สาวตฺถิยํ  วิหรติ  เชตวเน  อนาถปิณฺฑิกสฺส  อาราเม.
                ประทับ    เชตะวัน                                          วิหาระอัน
                อนาถบิณฑิกไซร้
                จัดสร้างอย่างดีที่ใน                                             สาวัตถีให้
                เป็นที่สถิตสุขา
(๔)         อถ  โข  อญฺญตฺรา  เทวดา
                ครั้งนั้นแลเทวดา                                                 องค์หนึ่งมหา
                นุภาพมหิทธิ์ฤทธี
(๕)         อภิกฺกนฺตาย  รตฺติยา  อภิกฺกนฺตวณฺณา
                ล่วงประถมยามราตรี                                          เธอเปล่งรัศมี
                อันเรืองระยับจับเนตร
(๖)          เกวลกปฺปํ  เชตวนํ  โอภาเสตฺวา
                แสงกายเธอปลั่งยังเขต                                       ส่วนแห่งเจ้าเชต
                สว่างกระจ่างทั่วไป
(๗)         เยน  ภคมา  เตนุปสงฺกมิ
                องค์พระภควันต์นั้นไซร้                                    ประทับแห่งใด
                ก็เข้าไปถึงที่นั้น
(๘)         อุปสงฺกมิตฺวา   ภควนฺตํ  อภิวาเทตฺวา
                ครั้งเข้าใกล้แล้วจึ่งพลัน                                      ถวายอภิวันท์
                แต่องค์สมเด็จทศพล
(๙)          เอกมนฺตํ  อฏฺฐาสิ.
                แล้วยินที่ควรดำกล                                              เสงี่ยมเจียมตน
                แสดงเคารพนบคีร์


(๑๐)       เอกมนฺตํ  ฐิตาโข  สา  เทวตา
                เมื่อเทวดายืนดี                                                     สมควร    ที่
                ข้างหนึ่งดังกล่าวแล้วนั้น
(๑๑)       ภควนฺตํ  คาถาย  อชฺฌภาสิฯ
                จึ่งได้ทูลถามภควันต์                                           ด้วยถ้อยประพันธ์
                เป็นพระคาถาบรรจงฯ
                พหู  เทวา  มนุสฺสา                                          มงฺคลานิ  อจินฺตยํ
                อากงฺขมานา  โสตฺถานํ                                       พฺรูหิ  มงฺคลมุตฺตมํฯ
                เทพอีกมนุษย์หวัง                                               คติโสตถิจำนง
                โปรดเทศนามง -                                                 คละเอกอุดมดีฯ
                (ฝ่ายองค์สมเด็จพระชินสีห์                              ตรัสตอบวาที
                ด้วยพระคาถาไพจิตร)




















(๑)          อเสวนา    พาลานํ                                            ปณฺฑิตานญฺจ  เสวนา
                ปูชา    ปูชะนียานํ                                             เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
                หนึ่งคือบ่คบพาล                                                 เพราะจะพาประพฤติผิด
                หนึ่งคบกะบัณฑิต                                               เพราะจะพาประสบผล
                หนึ่งกราบและบูชา                                             อภิบูชนีย์ชน
                ข้อนี้แหละมงคล                                                 อดิเรกอุดมดี
(๒)         ปฏิรูปเทสวาโส                                                 ปุพฺเพ    กตปุญฺญตา
                อตฺตสมฺมาปณิธิ                                                 เอตมฺมงฺลมุตฺตมํ
                ความอยู่ประเทศซึ่ง                                             เหมาะและควรจะสุขี
                อีกบุญญะการที่                                                    ณ อดีตะมาดล
                อีกหมั่นประพฤติควร                                           สภาวะแห่งตน
                ข้อนี้แหละมงคล                                                 อดิเรกอุดมดี
(๓)         พาหุสจฺจญฺจ  สิปฺปญฺจ                                        วินโยน    สุสิกฺชิโต
                สุภาสิตา    ยา  วาจา                                         เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
                ความได้สดับมาก                                 และกำหนดสุวาที
                อีกศิลปะศาสตร์มี                                                จะประกอบมนุญการ
                อีกหนึ่งวินัยอัน                                                    นรเรียนและเชี่ยวชาญ
                อีกคำเพราะบรรสาน                                          ฤดิแห่งประชาชน
                ทั้งสี่ประการล้วน                                                จะประสิทธิ์มนุญผล
                ข้อนี้แหละมงคล                                                 อดิเรกอุดมดี
(๔)         มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ                                                ปุตฺตทารสฺส  สงฺคโห
                อนากุลา    กมฺมนฺตา                                        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
                บำรุงบิดามา -                                                      ตุระด้วยหทัยปรีย์
                หากลูกและเมียมี                                                 ก็ถนอมประหนึ่งตน
                การงานกระทำไป                                               บ่มุ่งและสับสน
                ข้อนี้แหละมงคล                                                 อดิเรกอุดมดี
(๕)         ทานญฺจ  ธมฺมจริยา                                          ญาตกานญฺจ  สงฺคโห
                อนวชฺชานิ  กมฺมานิ                                            เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
                ให้ทาน    กาลควร                                           และประพฤติสุธรรมศรี
                อีกสงเคราะห์ญาติที่                                            ปฏิบัติบำเรอตน
                กอบกรรมะอันไร้                                                ทุษะกลั้วและมัวมล
                ข้อนี้แหละมงคล                                                 อดิเรกอุดมดี
 (๖)        อารตี  วิรตี  ปาปา                                                มชฺชปานา    สญฺญโม
                อปฺปมาโท    ธมฺเมสุ                                        เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
                ความงดประพฤติบาป                                        อกุศลบ่ให้มี
                สำรวมวรินทรีย์                                                    และสุราบ่เมามล
                ความไม่ประมาทใน                                           พหุธรรมะโกศล
                ข้อนี้แหละมงคล                                                 อดิเรกอุดมดี
(๗)         คารโว    นิวาโต                                             สนฺตุฎฺฐี    กตญฺญุตา
                กาเลน  ธมฺมสฺสวนํ                                             เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
                เคารพ    ผู้ควร                                                 จะประณตและนอบศีร์
                อีกหนึ่งมิได้มี                                                       จะกระด้างและจองหอง
                ยินดี    ของตน                                                 บ่มิโลภทะยานปอง         
                อีกรู้คุณาของ                                                        นรผู้ประคองตน
                ฟังธรรมะโดยกา -                                              ละเจริญคุณานันท์
                ข้อนี้แหละมงคล                                                 อดิเรกอุดมดี
(๘)         ขนฺตี    โสวจสฺสตา                                           สมณานญฺจ  ทสฺสนํ
                กาเลน  ธมฺมสากจฺฉา                                          เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
                มีจิตตะอดทน                                                       และสถิต    ขันตี
                อีกหนึ่งบ่พึงมี                                                      ฤดิดื้อทะนงหาญ
                หนึ่งเห็นคณาเลิศ                                                สมณาวราจารย์
                กล่าวธรรมะโดยกาล                                           วรกิจจะโกศล
                ทั้งสี่ประการล้วน                                                จะประสิทธิ์มนุญผล
                ข้อนี้แหละมงคล                                                 อดิเรกอุดมดี
(๙)          ตโป    พฺรหฺมจริยญฺ                                     อริยสจฺจานทสฺสนํ
                นิพฺพานสจฺฉิกิริยา                                            เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
                เพียรเผากิเลสล้าง                                                มละโทษะยายี
                อีกหนึ่งประพฤติดี                                              ดุจะพรหมพิสุทธิ์สรรพ์
                เห็นแจ้ง    สี่องค์                                             พระอรียสัจอัน
                อาจนำมนุษย์ผัน                                                  ติระข้ามทะเลวน
                อีกทำพระนิพพา -                                              นะประจักษะแก่ตน
                ข้อนี้แหละมงคล                                                 อดิเรกอุดมดี


(๑๐)       ผุฏฐฺสฺส  โลกธมฺเมหิ                                          จิตฺตํ  ยสฺส น  กมฺปติ
                อโสกํ  วิรชํ  เชมํ                                                 เอตมฺมงคลมุตฺตมํ
                จิตใครผิได้ต้อง                                                     วรโลกะธรรมศรี
                แล้วย่อมบ่พึงมี                                                     จะประหวั่นฤกังวล
                ไร้โศกธุลีสูญ                                                        และสบายบ่มัวมล
                ข้อนี้แหละมงคล                                                 อดิเรกอุดมดี
(๑๑)       เอตาทิสานิ  กตฺวาน                                            สพพตฺถมปราชิตา
                สพฺพตฺถ  โสตฺถํ  คจฺฉนฺติ                                   ตนฺเตสํ  มงฺคลมุตฺตมนฺติ
                เทวามนุษย์ทำ                                                       วรมงคลาฉะนี้
                เป็นผู้ประเสริฐที่                                                 บ่มิแท้    แห่งหน
                ย่อมถึงสวัสดี                                                        สิริทุกประการดล
                ข้อนี้แหละมงคล                                                 อดิเรกอุดมดีฯ